วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อัตราค่าบริการอินเตอร์เน็ต


                                     สำหรับลูกข้าทั่วไป




ทำธุรกิจอย่างฉลาด กับ Smart Business

                                                           สำหรับ SME องค์กรธุรกิจ




แหล่งที่มา http://www.tothispeed.com/th/promotion.php

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

          ISP หรือ Internet Service Provider เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้อยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ ( Commercial ISP) และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-commercial ISP ) 

          ในการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก โดยมีหลักในการพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ดำเนินธุรกิจด้านนี้มากี่ปี มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน มีการขยายสาขาเพื่อให้บริการไปยังต่างจังหวัดหรือไม่ มีการลงทุนที่จะพัฒนาการให้บริการมากน้อยเพียงใด เป็นต้น


           
           หลังจากที่เราเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการติดต่อขอใช้บริการอินเทอร์เน็ตกับ ISP ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ให้บริการหลายบริษัทยกตัวอย่าง 3 บริษัทที่เรารู้จักกันดี เช่น

1.Cat Internet
2.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3.บริษัท ทีโอที จำกัด

ที่มา http://julalukmarlaithaisong.blogspot.com/

(ของแถม)วิดีโอเพื่อช่วยให้เข้าใจ ISP หรือ Internet Service Provider  มากขึ้น




วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต


ประเภทของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

              การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี ลักษณะ คือ

1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ในปัจจุบันมีโมเด็มให้เลือกใช้อยู่ 3 ชนิด คือ โมเด็มแบบอินเทอร์นอลโมเด็มแบบเอ็กซ์เทอร์นอล และโมเด็มแบบไร้สายดังรูปที่ 4.12

ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ
1.       อุปกรณ์มีราคาถูก
2.       การติดตั้งง่าย
3.       การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย
ข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิต) ต่อวินาที

2. การเชื่อมต่อแบบ ISDN (Internet Services Digital Network)
                   ISDN Line เป็นเส้นทางการสื่อสารที่ใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาแต่ทำให้สามารถส่งทั้ง เสียงพูด และข้อมูลได้พร้อมกันทำให้สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้พร้อมกับการคุยโทรศัพท์โดยข้อมูลหรือเสียงที่รับ - ส่งนั้นอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลซึ่งมีข้อดีมากว่าสัญญาณอนาล็อก นอกจากนี้การใช้บริการ ISDN Line ยังสามารถมัลติเพล็ก (Multiplex) สัญญาณได้มากกว่า 3 สัญญาณส่งไปในคราวเดียวกัน ทำมีความเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่าสายโทรศัพท์ธรรมดาโดยความเร็วในการรับ  ส่งข้อมูลสูงสุดคือ 128 Kbps
                ผู้ใช้ที่ต้องการใช้ช่องทางการสื่อสารเป็น ISDN line จำเป็นต้องเลือกใช้โมเด็มชนิดพิเศษที่สามารถสื่อสานผ่าน ISDN Line ได้เรียกว่า “ISDN modem” ซึ่งจะทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ต เช่น การดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูล การชมเว็บไซต์หรือการประชุมด้วยเทคโนโลยี Videoconference สามารถทำได้อย่างรวดเร็วถูกต้องและชัดเจนนั่นเอง
ดังนั้นในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
1.       ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
2.       การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
3.       ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่
ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up


3. การเชื่อมต่อแบบ DSL (Digital Subscriber Line)
                     เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทร ศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน DSL เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเส้นทางการสื่อสารที่เป็นสัญญาณดิจิตอลโดยเหมาะสำหรับสำนักงานขนาดเล็กหรือผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป โดย DSL มีลักษณะการทำงานเหมือนกับ ISDN Line เพียงแต่มีความเร็วในการรับ  ส่งข้อมูลสูงกว่า ISDN Line เท่านั้น
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
1.       ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
2.       บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
3.       การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
4.       ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN
ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้
ADSL (Asymmetric DSL) เป็นเส้นทางการสื่อสาร DSL ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากอัตราการรับ  ส่งข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยสามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 640 Kbps แต่สามารถรับข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 9Mbps ทำให้ตอบสนองต่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดีเนื่องจากความต้องการในการดาวน์โหลดข้อมูลของผู้ใช้งานมีมากกว่าการอัพโหดข้อมูล

4. การเชื่อมต่อแบบ Cable
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1.       ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
2.       ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้
ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง

5. การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1.       จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
2.       ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) ได้แก่
1.       ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
2.       ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
                        3.       ค่าใช้จ่ายสูง

ตารางแสดงความเร็ว ข้อดี และข้อเสียของบริการสายสื่อสารแต่ละชนิด
บริการสายสื่อสาร
ความเร็ว
ข้อดี
ข้อเสีย
Dial-up Line
(สายโทรศัพท์)
56 Kbps
- ราคาถูก
- มีใช้กันอย่างกว้างขวาง
- ใช้เวลามากในการดาวน์โหลดไฟล์ที่มีขนาดใหญ่
Leased Line
ขึ้นอยู่กับสายสื่อสารที่ใช้
- กำหนดค่าใช้จ่ายได้
- มีความคล่องตัวในการใช้งานเครือข่าย
- หากไม่มีผู้ใช้งานตลอดเวลาจะทำให้ใช้ประโยชน์จากสายสื่อสารได้ไม่เต็มที่
ISDN Line
64-128 Kbps
- มีความเร็วกว่าสายโทรศัพท์
- ส่งทั้งเสียงพูดและข้อมูลได้พร้อมกัน
- ค่าใช้จ่ายสูงกว่าสายโทรศัพท์ธรรมดา
- มีใช้เฉพาะบางพื้นที่
ADSL Line
128 Kbps-9Mbps
- เร็วกว่า ISDN Line
- มีบริการเสริม
- ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
- มีใช้เฉพาะบางพื้นที่
CATV
128 Kbps-2.5Mbps
มีความเร็วสูง
- ใช้สายเคเบิลทีวีที่มีการติดตั้งตามบ้านเรือน
- ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
- มีใช้เฉพาะบางพื้นที่
T1 Line
1.555 Mbps
มีความเร็วสูง
-สายสื่อสารมีราคาสูง
- ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง
T3 Line
44 Mbps

- เสียค่าบริการรายเดือนตามระยะทางของสาย


ที่มา : http://161.200.184.9/webelarning/elearning/ADSL/page5.html

History of the internet


History of the internet
The history of the Internet began with the development of electronic computers in the 1950s. The public was first introduced to the concepts that would lead to the Internet when a message was sent over the ARPANet from computer science Professor Leonard Kleinrock's laboratory at University of California, Los Angeles (UCLA), after the second piece of network equipment was installed at Stanford Research Institute (SRI). Packet switched networks such as ARPANET, Mark I at NPL in the UK, CYCLADES, Merit Network, Tymnet, and Telenet, were developed in the late 1960s and early 1970s using a variety of protocols. The ARPANET in particular led to the development of protocols for internetworking, in which multiple separate networks could be joined together into a network of networks.
In 1982, the Internet protocol suite (TCP/IP) was standardized, and consequently, the concept of a world-wide network of interconnected TCP/IP networks, called the Internet, was introduced. Access to the ARPANET was expanded in 1981 when the National Science Foundation (NSF) developed the Computer Science Network (CSNET) and again in 1986 when NSFNET provided access to supercomputer sites in the United States from research and education organizations. Commercial Internet service providers (ISPs) began to emerge in the late 1980s and early 1990s. The ARPANET was decommissioned in 1990. The Internet was commercialized in 1995 when NSFNET was decommissioned, removing the last restrictions on the use of the Internet to carry commercial traffic.
Since the mid-1990s, the Internet has had a revolutionary impact on culture and commerce, including the rise of near-instant communication by electronic mail, instant messaging, Voice over Internet Protocol (VoIP) "phone calls", two-way interactive video calls, and the World Wide Web with its discussion forums, blogs, social networking, and online shopping sites. The research and education community continues to develop and use advanced networks such as NSF's very high speed Backbone Network Service (vBNS), Internet2, and National LambdaRail. Increasing amounts of data are transmitted at higher and higher speeds over fiber optic networks operating at 1-Gbit/s, 10-Gbit/s, or more. The Internet's takeover over the global communication landscape was almost instant in historical terms: it only communicated 1% of the information flowing through two-way telecommunications networks in the year 1993, already 51% by 2000, and more than 97% of the telecommunicated information by 2007. Today the Internet continues to grow, driven by ever greater amounts of online information, commerce, entertainment, and social networking.

ประวัติของอินเทอร์เน็ต


ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่ 

คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/ictinternet/internet.html