วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่ิอสนับสนุนการตัดสินใจ



สรุปประเภทของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง(EIS:Excutive Information System)

เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับสนุน สารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือ สามารถกล่าวได้ว่าระบบนี้คือส่วนหนึ่งของ DSS ที่แยกออกมา เพื่อเน้นการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริการแก่ผู้บริหาร
ลักษณะ
ระดับการใช้งาน-มีการใช้งานบ่อย
ทักษะทางคอมพิวเตอร์-ไม่จำเป็นต้องมีทักษะสูงระบบจะสามารถใช้งานได้งาน
ความยืดหยุ่น-สูงจะต้องสามารถเข้ากันได้ทุกรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
การใช้งาน-ใช้ในการตรวจสอบควบคุม
การสนับสนุนการตัดสินใจ-ผู้บริหารระดับสูงไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
การสนับสนุนข้อมูล-ทั้งภายในและภายนอกองค์กรผลลัพธ์ที่แสดง-ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
การใช้งานกราฟิก-สูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆความเร็วใน
การตอบสนอง-จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด

ข้อดี
ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงใช้งาน
การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
ทำให้เข้าใจสารสนเทศได้ดีขึ้น
มีการกรองข้อมูลทำให้ประหยัดเวลา
ทำให้ระบบสามารถติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น
ข้อเสีย
มีข้อจำกัดในการใช้งาน
อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากไป
ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
ระบบอาจจะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา





ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS:Group Decision Support System)

เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

ลักษณะของระบบสนันสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
1. เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งไม่ใช่การนำองค์ประกอบต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว มาประยุกต์ใช้แต่จะต้องสร้างขึ้นมาใหม่จึงจะเรียกว่าเป็นระบบ GDSS
2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม ถูกออกแบบมาโดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจขององค์ประชุม
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจถูกออกแบบมาเพียงเพื่อต้องการแก้ปัญาหาเฉพาะหน้า หรือแก้ไขปัญหาทั่วไปก็ได้
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะต้องง่ายต่อการเรียนรู้ และใช้งานได้สะดวก อีกทั้งยังอาจให้ความหลากหลายกับผู้ใช้ในแต่ละระดับที่เกี่ยวข้องกับความรู้ การประมวลผล และการสนับสนุนการตัดสินใจ
5. มีกลไกที่ให้ผลในเรื่องการปรับปรุงจุดบกพร่องที่เกิดจกพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมประชุม เช่นการขจัดความขัดแย้งในที่ประชุม
6. ระบบจะต้องออกแบบให้มีความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่างๆ เช่น กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ข้อดีและข้อเสียแก่ธุรกิจและสมาชิกขององค์การ จากการศึกษาพบว่า GDSS มีส่วนช่วยส่งเสริมการปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม ดังต่อไปนี้
1. ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
2. มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
3. สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
5. มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
6. ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
7. มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น